สิ่งมีชีวิตประกอบด้วยหน่วยพื้นฐานที่สำคัญก็คือ
เซลล์ เซลล์มีส่วนประกอบที่สำคัญได้แก่
ส่วนที่ห่อหุ้ม (เยื่อหุ้มเซลล์และผนังเซลล์)
ไซโตพลาสซึม และ นิวเคลียส
ภายในนิวเคลียสของเซลล์มีสารพันธุกรรมเรียกว่า
ดีเอ็นเอ (DNA) ดีเอ็นเอและโปรตีนหลายชนิด
ประกอบกันเป็นโครงสร้างที่มีลักษณะเป็นสายยาวเรียนกว่า โครมาทิน (chiomatin) ระหว่างการแบ่งเซลล์ โครมาทินจะขดตัวจนมีลักษณะเป็นท่อนๆ เรียกว่า โครโมโซม
(Chromosome) ในระยะแรกของการแบ่งเซลล์
โครโมโซมจะจำลองตัวเอง
กลายเป็นโครมาทินที่ขดสั้นลงเป็น 2 เส้น
แต่ละเส้นเรียกว่า โครมาทิด (chromatid) ซึ่งยึดติดกันที่ เซนโทรเมียร์
(centromere)
ภาพ โครงสร้างของนิวเคลียส
ในภาวะปกติเมื่อมองผ่านกล้องจุลทรรศน์จะเห็นโครโมโซมมีลักษณะคล้ายเส้นด้ายบางๆ
เรียกว่า “โครมาทิน (chromatin)”
ขดตัวอยู่ในนิวเคลียส เมื่อเซลล์เริ่มแบ่งตัว
เส้นโครมาทินจะหดตัวสั้นเข้ามีลักษณะเป็น แท่งจึงเรียกว่า “โครโมโซม”
แต่ละโครโมโซมประกอบด้วยแขนสองข้างที่เรียกว่า “โครมาทิด (chomatid)” ซึ่ง แขนทั้งสองข้างจะมีจุดเชื่อมกัน เรียกว่า “เซนโทรเมียร์ (centromere)”
ภาพ โครงสร้างของโครโมโซม
โครโมโซมเป็นโครงสร้างที่อยู่ในนิวเคลียสของเซลล์
ในขณะที่เซลล์ไม่แบ่งตัวโครโมโซมจะยืดยาวออก คล้าย ๆ เส้นใยเล็ก ๆ
สานกันอยู่ในนิวเคลียส เมื่อมีการแบ่งเซลล์จะมีการแบ่งโครโมโซม โดยโครโมโซมจะ จำลองตัวเองขึ้นมาเป็นเส้นคู่ที่เหมือนกันทุกประการ
แล้วค่อยๆ ขดตัวสั้นเข้า โครโมโซมก็จะโตมาก การศึกษา
โครโมโซมจึงต้องศึกษาในระยะแบ่งเซลล์ ถ้ามีเทคนิคในการเตรียมที่ดี
ก็จะสามารถมองเห็นรูปร่างลักษณะของ โครโมโซมจากกล้องจุลทรรศน์ และอาจนับจำนวนโครโมโซมได้
โครโมโซมเป็นโครงสร้างที่อยู่ในนิวเคลียส ของเซลล์ ในขณะที่เซลล์ไม่แบ่งตัวหรืออยู่ในระยะอินเตอร์เฟต
(interphase)
เราจะไม่เห็นโครโมโซมเนื่องจาก
โครโมโซมอยู่ในลักษณะเป็นเส้นใยเล็กๆสานกันอยู่ในนิวเคลียสเส้นใยนี้เรียกว่า
โครมาทิน (Chromatin) แต่เมื่อ
เซลล์จะแบ่งตัวโครมาตินแต่ละเส้นจะแบ่งจาก 1 เป็น 2 เส้น แล้วขดตัวสั้นเข้าและหนาขึ้นจนมองเห็นเป็นแท่งใน
ระยะโพรเฟส และเมทาเฟต และเรียกชื่อใหม่ว่า โครโมโซม
ทำให้เรามองเห็นรูปร่างลักษณะและจำนวน โครโมโซมได้
โครโมโซมที่เห็นได้ชัดในระยะเมทาเฟต ประกอบด้วย โครมาทิด 2 อัน ยึดติดกันตรง เซนโทรเมียร์ ซึ่งก็คือ DNA สายยาวสายเดียวที่พันรอบโปรตีนที่ชื่อ ฮีสโตน (histone) เอาไว้ ทำให้รูปร่างโครมาทินคล้ายลูกปัดที่เรียงต่อๆ กัน แล้วมี DNA พันรอบลูกปัดนั้น ในเซลล์ทั่วๆ ไป เมื่อย้อมสีเซลล์ ส่วนของ โครมาทินจะติดสีได้ดีและมองดูคล้ายตาข่ายละเอียดๆ จึงเห็นนิวเคลียสชัดเจน
โครโมโซมที่เห็นได้ชัดในระยะเมทาเฟต ประกอบด้วย โครมาทิด 2 อัน ยึดติดกันตรง เซนโทรเมียร์ ซึ่งก็คือ DNA สายยาวสายเดียวที่พันรอบโปรตีนที่ชื่อ ฮีสโตน (histone) เอาไว้ ทำให้รูปร่างโครมาทินคล้ายลูกปัดที่เรียงต่อๆ กัน แล้วมี DNA พันรอบลูกปัดนั้น ในเซลล์ทั่วๆ ไป เมื่อย้อมสีเซลล์ ส่วนของ โครมาทินจะติดสีได้ดีและมองดูคล้ายตาข่ายละเอียดๆ จึงเห็นนิวเคลียสชัดเจน
รูปร่าง ลักษณะ และจำนวนโครโมโซม
สิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งอาจมีโครโมโซมที่มีรูปร่างแบบเดียวหรือหลายแบบ
สามารถศึกษาโครโมโซมแบบต่างๆ ได้ดังนี้
1.
เมตาเซนตริก (Metacentric) เป็นโครโมโซมที่มีแขนยื่น
2 ข้างออกจากเซนโทรเมียร์เท่ากันหรือเกือบเท่ากัน
2.
ซับเมตาเซนตริก (Submetacentric) เป็นโครโมโซมที่มีแขนยื่นออกมา
2 ข้างจากเซนโทรเมียร์ไม่เท่ากัน
3.
อะโครเซนตริก (Acrocentric) เป็นโครโมโซมที่มีลักษณะเป็นแท่งโดยมีเซนโทรเมียร์อยู่ใกล้กับปลายข้างใด
ข้างหนึ่ง จึงเห็นส่วนเล็กๆ ยื่นออกจากเซนโทรเมียร์
4.
เทโลเซนตริก (Telocentric) เป็นโครโมโซมที่มีลักษณะเป็นแท่งโดยมีเซนโทรเมียร์อยู่ตอนปลายสุดของ
โครโมโซม
ภาพ แสดงลักษณะรูปร่างของโครโมโซมแบบต่างๆ
ตามตำแหน่งของเซนโทรเมียร์
ตาราง แสดงจำนวนโครโมโซมในเซลล์ร่างกายของสิ่งมีชีวิตต่างๆ
2.ส่วนประกอบของโครโมโซม
ถ้าหากจะประมาณสัดส่วนระหว่าง DNA และโปรตีนที่เป็นองค์ประกอบของโครโมโซมของยูคาริโอตจะพบว่าประกอบด้วย DNA 1 ใน 3 และอีก 2 ใน 3 เป็นโปรตีน โดยส่วนที่เป็นโปรตีนจะเป็น ฮิสโตน (histone) และนอนฮิสโตน (non-histone) อย่างละประมาณเท่าๆ กัน ในปี พ.ศ. 2427 นักวิทยาศาสตร์พบว่าฮิส โตนเป็นโปรตีนที่มีองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นกรดอะมิโนที่มีประจุบวก (basic amino acid) เช่น ไลซีน และ อาร์จินีน ทำให้มีสมบัติในการเกาะจับกับสาย DNA ซึ่งมีประจุลบได้เป็นอย่างดี และทำให้เกิดการสร้างสมดุลของ ประจุ (neutralize) ของโครมาทินด้วยสาย DNA พันรอบกลุ่มโปรตีนฮิสโตนคล้ายเม็ดลูกปัดเรียกโครงสร้างนี้ว่า นิวคลีโอโซม (nucleosome) โดยจะมีฮิสโตนบางชนิดเชื่อมต่อระหว่างเม็ดลูกปัดแต่ละเม็ด
ถ้าหากจะประมาณสัดส่วนระหว่าง DNA และโปรตีนที่เป็นองค์ประกอบของโครโมโซมของยูคาริโอตจะพบว่าประกอบด้วย DNA 1 ใน 3 และอีก 2 ใน 3 เป็นโปรตีน โดยส่วนที่เป็นโปรตีนจะเป็น ฮิสโตน (histone) และนอนฮิสโตน (non-histone) อย่างละประมาณเท่าๆ กัน ในปี พ.ศ. 2427 นักวิทยาศาสตร์พบว่าฮิส โตนเป็นโปรตีนที่มีองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นกรดอะมิโนที่มีประจุบวก (basic amino acid) เช่น ไลซีน และ อาร์จินีน ทำให้มีสมบัติในการเกาะจับกับสาย DNA ซึ่งมีประจุลบได้เป็นอย่างดี และทำให้เกิดการสร้างสมดุลของ ประจุ (neutralize) ของโครมาทินด้วยสาย DNA พันรอบกลุ่มโปรตีนฮิสโตนคล้ายเม็ดลูกปัดเรียกโครงสร้างนี้ว่า นิวคลีโอโซม (nucleosome) โดยจะมีฮิสโตนบางชนิดเชื่อมต่อระหว่างเม็ดลูกปัดแต่ละเม็ด
ส่วนของโปรตีนนอนฮิสโตนนั้นมีมากมายหลายชนิด
อาจเป็นร้อยหรือพันชนิด ขึ้นอยู่กับชนิดของ
สิ่งมีชีวิตโดยโปรตีนเหล่านี้จะมีหน้าที่แตกต่างกันไป
บางชนิดมีหน้าที่ช่วยในการขดตัวของ DNA หรือบางชนิดก็
เกี่ยวข้องกับกระบวนการจำลองตัวเองของดีเอ็นเอ (DNA replication)
หรือการแสดงออกของยีน เป็นต้น สำหรับ ในโพรคาริโอต เช่น แบคทีเรีย E.
coli มีจำนวนโครโมโซมชุดเดียวเป็นรูปวงแหวนอยู่ใน ไซโตพลาสซึม ประกอบด้วย DNA 1 โมเลกุล และไม่มีฮิสโตนเป็นองค์ประกอบโครโมโซมของสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดที่ปกติจะมี
จำนวนคงที่เสมอ และจะมีจำนวนเป็นเลขคู่
โครโมโซมของคน
โครโมโซมของคนมี 46 แท่ง หรือ 23 คู่ ซึ่ง โครโมโซมแบ่ง ออกเป็น 2 ชนิด คือ
โครโมโซมร่างกาย (autosome) ไม่มีความสัมพันธ์กับชนิดของเพศ นำลักษณะที่เกิดขึ้นได้เท่าๆกันทั้งสองเพศ มี 22 คู่ หรือ 44 แทง
โครโมโซมเพศ (sex chromosome) มี 2 โครโมโซม โดยโครโมโซมในเพศหญิงจะมีลักษณะและขนาดเหมือนกันทั้งคู่ใช้สัญลักษณ์ XX ส่วนโครโมโซมเพศในเพศชายจะมี รูปร่างลักษณะและขนาดต่างกันใช้สัญลักษณ์ XY
โครโมโซมของคนมี 46 แท่ง หรือ 23 คู่ ซึ่ง โครโมโซมแบ่ง ออกเป็น 2 ชนิด คือ
โครโมโซมร่างกาย (autosome) ไม่มีความสัมพันธ์กับชนิดของเพศ นำลักษณะที่เกิดขึ้นได้เท่าๆกันทั้งสองเพศ มี 22 คู่ หรือ 44 แทง
โครโมโซมเพศ (sex chromosome) มี 2 โครโมโซม โดยโครโมโซมในเพศหญิงจะมีลักษณะและขนาดเหมือนกันทั้งคู่ใช้สัญลักษณ์ XX ส่วนโครโมโซมเพศในเพศชายจะมี รูปร่างลักษณะและขนาดต่างกันใช้สัญลักษณ์ XY
ภาพ แสดงโครโมโซมของมนุษย์
กรดนิวคลีอิก มี 2 ประเภท คือ DNA (deoxyribonucleic acid) และ RNA (ribonucleic acid) เป็น polymer ของ nucleotide แต่ละโมเลกุลของ nucleotide ประกอบด้วยน้ำตาลเพนโตสและหมู่ฟอสเฟต แต่ละ nucleotide จะเชื่อมกันด้วย Phosphodiester bond กลายเป็นสาย polynucleotide ซึ่งมีปลาย 2 ปลาย คือ 5/ (จบที่ C5) และ 3/ (จบที่ C3)
ไนโตรจีนัสเบส (nitrogenous
base)
เป็นโครงสร้างประกอบด้วยวงแหวนที่มีอะตอมของคาร์บอนและไนโตรเจนแบ่งออกเป็น
2 ประเภท คือ
เบสพิวรีน (purine) มี 2 ชนิด คือ อะดีนีน (adenineหรือA) และกวานีน(guanine หรือ G)
เบสไพริมิดีน(pyrimidine) มี 2 ชนิด คือ ไซโทซีน (cytosineหรือ c) และ ไทมีน (tymineหรือ t)
เบสพิวรีน (purine) มี 2 ชนิด คือ อะดีนีน (adenineหรือA) และกวานีน(guanine หรือ G)
เบสไพริมิดีน(pyrimidine) มี 2 ชนิด คือ ไซโทซีน (cytosineหรือ c) และ ไทมีน (tymineหรือ t)
ภาพ นิวคลีโอไทด์ ที่มีีเบสชนิดต่างๆ ซึ่งเป็นองค์ประกอบของ DNA
แบบจำลองดีเอ็นเอ
แบบจำลองดีเอ็นเอของ
วอตตันและคริกสมบูรณ์ที่สุด ใช้ข้อมูลจากชาร์กาฟฟ์
โครงสร้างเคมีและการฉายรังสีเอ็กซ์ใส่ ( X-ray diffraction ) พบว่า DNA มีโครงสร้างเป็นบันไดเวียนคู่ (double
helix) วนขวาตามเข็มทั้งสองสายเรียงทอดตัวกลับหัวกลับหาง (antiparallel)
คือ 3/ จับกับ 5/ ของอีกสาย
โดยมีหมู่ฟอสเฟตกับน้ำตาลเป็นราวบันได (sugar-phosphate backbone) มีเบสของแต่ละสาย polynucleotide เป็นขั้นบันได
เบสเหล่านี้จะจับคู่กันด้วย hydrogen bond อย่างมีแบบแผนคือ A
จับกับ T (สองพันธะ) Cจับกับ G (สามพันธะ) เรียกว่าเบสคู่ผสม
(complementary base) แต่ละสาย polynucleotide อยู่ห่างกัน 20 อังสตรอมหนึ่งรอบเกลียวยาว 34
อังสตรอม มีอยู่ 10 คู่เบส
แสดงว่าแต่ละเบสอยู่ห่างกัน 3.4 อังสตรอม
ภาพแบบจำลองดีเอ็นเอ ของวอตตันและคริก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น